แนวรับ และ แนวต้าน
แนวรับและแนวต้านเปรียบดังแนวของเส้น ณ ตำแหน่งราคาใดๆ ที่ใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาผ่านแนวนั้นๆ เนื่องจากการหยุดการทะลุผ่าน หรือการไหลตกลงของราคาผ่านที่แนวสังเกตนี้ล้วนมีนัยที่สำคัญการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวรับ แนวต้าน จึงเป็นเรื่องจำเป็นควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น
แนวรับ คือแนวที่มีแรงซื้อมารับราคาหุ้นไว้ไม่ให้ตกลงไปมากกว่านี้ หรือสามารถชะลอการร่วงลงของราคาได้ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวรับจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาลง
แนวรับจะมีได้มากกว่า 1 แนว และสามารถนำแนวรับในอดีตที่มีนัยมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ โดยบ่อยครั้งที่แนวรับสำคัญจะเกิดจากการที่ราคาหุ้นในทิศทางลงหลายรอบมาหยุดลง ณ ที่แนวรับนั้น
แนวต้าน คือแนวที่มีแรงขายมาต้านราคาหุ้นไว้ไม่ให้ขึ้นสูงไปมากกว่านี้ หรือสามารถชะลอการขึ้นของราคาได้ในขณะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปแนวต้านจะมีลักษณะเหมือนแนวที่เป็นจุดสังเกตการเคลื่อนที่ลงของราคาในแนวโน้มขาขึ้น
แนวต้านจะมีได้มากกว่า 1 แนว และสามารถนำแนวต้านในอดีตที่มีนัยมาใช้ในการสังเกตในปัจจุบันได้ เช่น จุดสูงสุดเดิมที่มีการเทขายจำนวนมาก
จากต้านเป็นรับ จากรับเป็นต้าน
การติดตามทิศทางราคาหุ้นอย่างต่อเนื่องจะพบว่า เมื่อหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม แนวรับและแนวต้านก่อนหน้าจะสามารถทำหน้าที่สลับกันบนแนวโน้มที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
กรณีที่ 1 แนวโน้มเป็นแนวโน้มขาขึ้น เราจะสามารถนิยามแนวต้านได้จากจุดสูงสุด และเมื่อแนวโน้มขาขึ้นวิ่งมาถึงแนวต้านที่แรงขายมากกว่าแรงซื้อทำให้ราคาหุ้นไม่สามารถทะลุผ่านแยวต้านไปได้ ราคาหุ้นจะเริ่มคงที่ระยะสั้นๆ และเกิดการย่อตัวกลับของแนวโน้ม แนวต้านก่อนหน้าจะกลายเป็นแนวรับที่ทดสอบการย่อตัวของราคา
กรณีที่ 2 แนวโน้มเป็นขาลงเกิดแรงขายต่อเนื่องจนสร้างจุดต่ำสุดใหม่ก่อให้เกิดแนวรับใหม่ในทิศทางแนวโน้มขาลง โดยที่แนวโน้มอาจจะมีการซื้อกลับดดยแรงซื้อจะดึงราคาหุ้นให้มีการ Rebound ขั้น แนวรับก่อนหน้าจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน เพื่อทดสอบการกลับตัวหรือ Rebound ของราคา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น